Browsed by
เดือน: สิงหาคม 2553

คุยกับ ดร.ฟูกุโรอุ

คุยกับ ดร.ฟูกุโรอุ

มีคำถามมาเมื่อวันก่อนถามว่า “เป็นพนักงานบริษัทฯ อยากจะลงทะเบียนเรียนภาษีญี่ปุ่นขั้นต้น กลุ่มเล็ก เรียนวันอาทิตย์ อยากทราบว่า มีค่าลงทะเบียนเรียน,ค่าหนังสือ เท่าไร และเรียน กี่ชม. รวมเป็นกี่สัปดาห์ และอยากทราบว่าทางรร.เป็นคนจัดกลุ่มเรียนให้หรือเปล่า เนื่องจากเป็นผู้สนใจคนเดียว”

fukurou2ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณที่ให้ความสนใจในหลักสูตรของทางโรงเรียน ค่าเล่าเรียนของทางโรงเรียนสำหรับกลุ่มเล็กวันอาทิตย์ ชั้นต้น 1 คือ 2490 บาท/หลักสูตร 30 ชม เป็นค่าเล่าเรียนที่รวมตำราและชีทคำศัพท์แล้ว เรียนทั้งหมด 30 ชม. โดยเรียนครั้งละ 3 ชม. รวม 10 ครั้ง ใช้เวลาประมาณ 2 เดือน ซึ่งทางโรงเรียนจะเป็นผู้จัดกลุ่มให้ ขณะนี้มีผู้สมัครมาแล้ว 6 คน ใกล้เต็ มแล้วนะครับ รีบสมัครด่วน (รับกลุ่มละ 8 คน) วิธีสมัครก็เข้าไปดูที่หน้า“สมัครเรียน”ได้เลยครับ ขอบคุณอีกครั้งสำหรับคำถาม ผู้สนใจสามารถสอบถามเข้ามาได้ทุกประเภทคำถาม ยินดีตอบทุกท่านครับ
สอบถามคลิ๊กที่นี่

จาก ดร.ฟูกุโรอุ

บทเรียนภาษาญี่ปุ่นที่ 9

บทเรียนภาษาญี่ปุ่นที่ 9

เรียนภาษาญี่ปุ่น กับ www.tokyojuku.com
ดร. ถาวร งามตระกูลชล ????????????????
ผู้อำนวยการโรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่นโตกียวยูกุ ศรีราชา
คำช่วยลงท้ายแสดงความรู้สึกผู้พูด
????????wa,sa,no,ke?
sengenอากาศร้อนในฤดูร้อน ดูเป็นเรื่องที่ไม่ชินสำหรับชาวญี่ปุ่น เนื่องจากเป็นประเทศที่มีอากาศหนาวเย็นเกือบตลอดปี ยกเว้นช่วงฤดูร้อนกลางปี ซึ่งชาวญี่ปุ่นจัดงานประเพณีฤดูร้อนกันทุกเมือง แต่ละเมืองมีความแตกต่างกันตามแต่ท้องถิ่น?เช่นงานประเพณี??TANABATA ที่มีมาตั้งแต่ยุคนารา จัดในคืนวันที่ 7 กรกฎาคมของทุกปี เพื่อการฉลองดวงดาวทะนะบาตะ และร่วมเขียนคำอธิษฐานลงบน??tanzaku?(กระดาษยาวรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า)?หลากหลายสีแขวนบนกิ่งไผ่พร้อมสิ่งประดับ เพื่อนชายคนหนึ่งของผมชวนเพื่อนหญิงของเขาไปงานฉลองนี้ แต่เพื่อนหญิงตอบแบบเน้นให้เห็นถึงการตัดสินใจว่า ????????Watashi wa ikanai wa (ฉันไม่ไปนะ) คำตอบของเธอทำให้ผมคิดถึงคำว่า ?wa?ที่อยู่ท้ายประโยคที่เธอพูด ซึ่งเป็นคำช่วยลงท้ายแสดงความรู้สึกของผู้พูด เมื่อมาทบทวนดูก็ยังมีคำอื่นๆอีกเช่น ?sa?no?ke อีกด้วย ลองมาดูรูปแบบการใช้และอารมณ์ที่แสดงออกมาของแต่ละคำดูนะครับ
tanba1) ตัวอย่างการใช้ ?sa แสดงการตัดสินใจเด็ดขาดของผู้พูด
???????????Shinjuku de kaimono shite ii sa.
ซื้อของที่ชิงจูกุก็ได้
2) ตัวอย่างการใช้ ?no กรณีแสดงอารมณ์ที่เข้าถึงความรู้สึกที่เห็นด้วย (หางเสียงระดับปกติ)
???????????????????????
Shibaraku minai uchi ni, zuibun ookikunatta no.
ไม่เจอกันมานาน โตขึ้นมากเลยนะนี่
กรณีแสดงอารมณ์ของคำถามที่ต้องการคำตอบ(หางเสียงยกสูงขึ้น)
?????????Kore, iranai no. อันนี้ไม่เอาหรือ
3) ตัวอย่างการใช้ ?ke แสดงการคิดย้อนหลังสิ่งที่ผ่านมาไม่นานนัก
????????????SONO HITO NO NAMAE WA NAN DAKKE.คนนั้นชื่ออะไรนะ
4) ตัวอย่างการใช้ ?wa แสดงการตัดสินใจเฉพาะของผู้พูดเป็นสตรี
????????????????Betsu no yarikata no ho ga ii to omou wa. คิดว่าใช้วิธีอื่นจะดีกว่านะ
จะเห็นว่าคำช่วยเหล่านี่อยู่ท้ายประโยคเสมอ โดยไม่แสดงความหมาย แต่เป็นเพียงการแสดงเน้นอารมณ์ของผู้พูดเท่านั้น ลองใช้ดูนะครับ มีคำถามเมล์มาที่ tokyojuku@yahoo.com หรือเว็บไซด์โรงเรียนที่ www.tokyojuku.com
โรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่นโตเกียวยูกุ (ในการควบคุมดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ)
เลขที่ 28 ศรีราชานคร6 ศรีราชา ชลบุรี 20110 (ตรงข้ามรพ.พญาไท ศรีราชา) โทร 038-310315 แฟ็ค 038-310316 ฮอตไลน์ 081-8634424, 081-9455082
เลือกเรียนหลักสูตรที่คุณชอบ
ชั้นต้น- ชั้นกลาง- ชั้นสูง- ติวสอบวัดระดับ- ติวสอบขอทุน- เตรียมฝึกงานญี่ปุ่น

อ่านบทเรียนอื่นๆ

จุดเด่นสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นระบบใหม่

จุดเด่นสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นระบบใหม่

n1จุดเด่นสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นระบบใหม่
1.ให้ความสำคัญกับความสามารถในการสื่อสาร
การสอบในรูปแบบใหม่ ไม่ใช่เพียงเพื่อวัดความรู้ทางภาษาญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ให้ความสำคัญกับ ความสามารถในการใช้ภาษาญี่ปุ่นเพื่อสื่อสารในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง
2.ปรับกลุ่มวิชาที่สอบ
แบ่งออกเป็น 2 วิชา ดังนี้
(1) ???????????เป็นการสอบ ??????????????? และ ? ??????????????????
(2) ???????????เป็นการสอบ ? ?????????? ในการสอบปัจจุบัน
3.ปรับเปลี่ยนระดับการสอบ
เนื่องจากความยากของข้อสอบระดับ 3 และระดับ 2 ต่างกันมากเป็นพิเศษ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้สอบ จึงได้ปรับเปลี่ยนระบบการสอบจากปัจจุบันที่มี 4 ระดับ เป็น 5 ระดับ ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน จึงกำหนดวิธีการเรียกระดับการสอบในรูปแบบใหม่ดังนี้ คือ N1 ? N2 ? N3 ? N4 ? N5 โดยเพิ่มตัวอักษร ?N? ไว้ข้างหน้า โดยมีรายละเอียดดังนี้
ระดับ N1 ระดับที่ใกล้เคียงกับระดับ 1 ในปัจจุบัน แต่ยากกว่าเล็กน้อย
(สอบคำศัพท์ ,ไวยากรณ์ ,การอ่าน (110 นาที) / การฟัง ( 60 นาที))
ระดับ N2 ระดับที่ใกล้เคียงกับระดับ 2 ในปัจจุบัน
(สอบคำศัพท์ ,ไวยากรณ์ ,การอ่าน (105 นาที) / การฟัง ( 50 นาที))
ระดับ N3 ระดับที่อยู่ระหว่างระดับ 2 และ 3 ในปัจจุบัน
(สอบคำศัพท์ ( 30 นาที ) / ไวยากรณ์ , การอ่าน ( 70 นาที) / การฟัง ( 40 นาที))
ระดับ N4 ระดับที่ใกล้เคียงกับระดับ 3 ในปัจจุบัน
(สอบคำศัพท์ ( 30 นาที ) / ไวยากรณ์ , การอ่าน ( 60 นาที) /การฟัง ( 35 นาที))
ระดับ N5 ระดับที่ใกล้เคียงกับระดับ 4 ในปัจจุบัน
(สอบคำศัพท์ ( 25 นาที ) / ไวยากรณ์ , การอ่าน ( 50นาที) / การฟัง ( 30 นาที))
4.อื่นๆ
อื่นๆที่เปลี่ยนแปลงก็คงเป็นเรื่องค่าสมัครสอบที่ขึ้นเป็น 800 บาทสำหรับระดับ N1 N2 N3 และ 600 บาท สำหรับ N4 N5 ต่อการสอบ 1 ครั้ง
นักศึกษาเข้าดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.tpa.or.th/tpapress/upload/files/New_JLPT2010.pdf